วันอังคาร, 12 พฤศจิกายน 2567
  

การเข้าเฝ้าพระสันตะปาปาแบบทั่วไป (General audience) วันพุธที่ 2 มีนาคม 2022

 คำสอนเกี่ยวกับผู้สูงอายุ – 2. การมีอายุยืนเป็นสัญลักษณ์และโอกาส

อรุณสวัสดิ์ ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย

        ในเรื่องเล่าของพระคัมภีร์เกี่ยวกับการสืบสายตระกูล พวกเราจะรู้สึกได้ทันทีถึงการมีอายุยืน เรากำลังพูดถึงจำนวนศตวรรษ เราอาจแปลกใจว่าการมีอายุยืนตรงนี้หมายความว่าอะไร? และความสำคัญของความจริงอยู่ที่ว่าบรรพบุรุษสมัยก่อนเหล่านั้นมีชีวิตที่ยืนยาวและให้กำเนิดกับบุตรหลานเหลนมากมายอย่างไร? ข้อความนี้ที่กล่าวถึงช่วงเวลานานนับศตวรรษที่มีการกล่าวขานกันในลักษณะของจารีตพิธีกรรมได้กลายเป็นคามหมายของสัญลักษณ์ที่มีความสำคัญมากในความสัมพันธ์ระหว่างการที่มีอายุยืนยาวและการสืบสายตระกูลวงวานมนุษย์

        ดูเหมือนว่าการถ่ายทอดชีวิตมนุษย์ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในสากลจักรวาลที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นหมายถึงการเริ่มต้นที่ยืดยาว และค่อยๆ เป็นไปอย่างเชื่องช้า ทุกสิ่งเป็นของใหม่หมดในตอนเริ่มต้นประวัติศาสตร์ทั้งชีวิตฝ่ายจิตและชีวิตฝ่ายกาย ทั้งด้านมโนธรรมและด้านเสรีภาพ ทั้งจิตสำนึกและความรับผิดชอบ ชีวิตใหม่ – ชีวิตมนุษย์ – ที่เปี่ยมด้วยความตึงเครียดระหว่างต้นตอ “ในภาพพจน์ที่คล้ายคลึง” กับพระเจ้า และความเปราะบางที่รู้จักตายเป็นเรื่องใหม่ที่จะต้องคนคว้าหาให้พบ และความต้องการในการเริ่มต้นที่ต้องใช้เวลานานซึ่งการเอื้อต่อการถ่ายทอดเคล็ดลับของชนรุ่นต่างๆ อันเป็นช่วงเวลาอันยืดยาวนี้ คุณภาพชีวิตฝ่ายจิตของมนุษย์เป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้เพื่อที่จะถอดเคล็ดลับ ประสบการณ์และชะตากรรมต่างๆ ของชีวิตมนุษย์ ในช่วงเวลาอันยืดยาวนี้คุณภาพฝ่ายจิตของมนุษย์จึงค่อยๆ มีการพัฒนากันไปอย่างเชื่องช้าด้วย

        ในความหมายที่บ่งบอกบางสิ่งบางอย่างบางอย่างแต่ละยุคสมัยในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่ผ่านไปจะให้ความรู้สึกเช่นนี้ ราวกับว่าพวกเรามีการเริ่มใหม่อย่างช้าๆ พร้อมกับคำถามของพวกเราเกี่ยวกับความหมายของชีวิตเมื่อบริบทแห่งสภาพชีวิตมนุษย์ปรากฏว่าเต็มไปด้วยประสบการณ์ใหม่ และคำถามมากมายที่พวกเราไม่เคยถามกันมาก่อน แน่นอนว่าการสั่งสมความทรงจำทางวัฒนธรรมจะทำให้พวกเรามีความคุ้นเคยกันมากขึ้นอันเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเผชิญกับวิถีชีวิตใหม่ๆ เวลาแห่งการถ่ายทอดการเปลี่ยนแปลงลดลง แต่ระยะเวลาในการกลืนให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่ๆ จะเรียกร้องให้ต้องมีความเพียรทนเสมอ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วซึ่งจนถึงเวลานี้เข้ามาครอบงำทุกขั้นตอนของชีวิตทำให้ทุกประสบการณ์กลายเป็นสิ่งผิวเผินและ “หล่อเลี้ยง” ลดน้อยไปกว่าเดิม เยาวชนตกเป็นผู้เคราะห์ร้ายโดยไม่รู้ตัวของการแบ่งแยกระหว่างเวลาของนาฬิกาที่ต้องมีการรีบเร่ง และเวลาของชีวิตที่เรียกร้องให้ต้องมีการ “ปรับเปลี่ยน” อย่างเหมาะสม ชีวิตที่ยืนยาวสามารถทำให้พวกเราจัดการกับเวลาที่ยืดยาวเหล่านี้ได้ และให้พวกเรามีประสบการณ์กับอันตรายของการรีบเร่ง

        แน่นอนว่าความชราทำให้พวกเราต้องก้าวช้าลง แต่นั่นไม่ใช่เป็นเพียงแค่เวลาแห่งความเฉื่อยชาลง ความจริงแล้วนั่นเป็นการเปิดมาตรการต่างๆ ให้เกิดขึ้นสำหรับทุกคนซึ่งเป็นเวลาแห่งความหมายของชีวิตโดยไม่คำนึงถึงปัญหาแห่งความรวดเร็ว การสูญเสียจังหวะที่ช้าลงแห่งชีวิตจะปิดมาตรการเหล่านี้ให้กับทุกคน จากมุมมองนี้เองที่พ่อปรารถนาที่จะสถาปนาวันผู้สูงอายุปู่ย่าตายายในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคมของทุก ๆ ปี ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งสองฝ่าย – เยาวชนและผู้ใหญ่ – เด็กๆ และคนชรา -จะช่วยให้ทั้งสองฝ่าย – เยาวชนและผู้ใหญ่ – ให้มีความสัมพันธ์กันยิ่งขึ้นเพื่อที่จะทำให้การดำเนินชีวิตของทุกคนมีความมั่งคั่งสมบูรณ์ขึ้นในความเป็นมนุษย์

        ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเสวนากันระหว่างชนรุ่นต่อรุ่น หากไม่มีการเสวนากันระหว่างเยาวชนกับผู้สูงอายุ ชนแต่ละรุ่นจะอ้างว้างโดดเดี่ยวและไม่สามารถที่จะสื่อสารต่อกันได้ ขอลองพิจารณาดู เยาวชนที่ไม่มีความสัมพันธ์กับรากเหง้าของตน ซึ่งได้แก่ปู่ย่าตายายจะไม่ได้รับพลัง เฉกเช่นต้นไม้ที่ไม่ได้รับพลังจากรากเหง้า จะไม่เจริญเติยโตเท่าที่ควร จะเติบโตขึ้นโดยไม่มีผู้ใดคอยช่วยแนะนำ จะเจริญเติบโตขึ้นโดยปราศจากจุดอ้างอิง ดังนั้นการเสวนาระหว่างชนรุนต่อรุ่นจึงมีความจำเป็น จำเป็นต้องมีการแสวงหาดังที่มนุษย์มีความต้องการ ซึ่งได้แก่การเสวนาระหว่างชนรุ่นต่อรุ่นซึ่งเป็นบุคคลสองขั้วสุดโต่งระหว่างกัน

        ขอให้พวกเราคิดถึงเมืองหนึ่งซึ่งการอยู่ร่วมกันของผู้คนที่มีอายุแตกต่างกันที่รวมกันเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่อาศัยอยู่ปะปนกัน ขอให้พวกเราคิดถึงการหล่อหลอมความสัมพันธ์ที่น่าชื่นชมระหว่างผู้สูงอายุกับเยาวชน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์โดยทั่วไปแห่งความสัมพันธ์กัน ชนรุ่นที่มีอายุต่างกันจะกลายเป็นขุมพลังแห่งความเป็นมนุษย์ที่เห็นได้ และที่ดำเนินชีวิตไปได้ด้วยดี ชุมชนเมืองสมัยใหม่ดูเหมือนจะไม่ค่อยเป็นมิตรกับผู้สูงอายุ (และไม่ใช่โดยบังเอิญ กับเด็กด้วย) สังคมนี้ที่มีเจตนารมณ์แห่งการไม่ยอมรับกันและกัน ไม่ยอมรับเด็กมากมายที่พวกเขาไม่ต้องการ และไม่ยอมรับคนชรา สังคมที่มองข้ามและไม่สนใจพวกเขา – พวกเขาไม่มีประโยชน์ – พวกเขาต้องอยู่เพียงแค่ในบ้าน หรือในโรงพยาบาล… การเร่งเวลาเร็วเกินไปทำให้พวกเราตกอยู่ในวังวนแห่งการโปรยกระดาษสี พวกเราจะมองไม่เห็นภาพที่ใหญ่กว่า แต่ละคนจะยึดถืออยู่เพียงแค่ในแผ่นกระดาษของตนที่ถูกโปรยลงมาที่ปลิวไปตามกระแสของตลาดในเมือง ซึ่งการชักช้าลงหมายถึงขาดทุนและการรีบเร่งหมายถึงกำไร  การเร่งรีบเกินไปทำให้ชีวิตของพวกเราแตกละเอียด ไม่ได้ทำให้พวกเรามีความเข้มข้นขึ้นเลย และปรีชาญาณก็สูญหาย… จะไม่มีการเสียเวลา เมื่อพวกท่านกลับบ้านเห็นลูกชายลูกสาวของพวกท่าน แล้วท่าน “ใช้เวลาร่วมกับพวกเขา” แต่ในการสนทนาที่เป็นพื้นฐานของสังคมนี้ ท่านกลับคิดว่า “เสียเวลา” ไปกับเด็กๆ และเมื่อท่านกลับมาบ้านที่มีคุณตาหรือคุณยายที่บางทีท่านเหล่านั้นสุขภาพค่อนข้างจะแย่แล้ว  ซึ่งพ่อไม่ทราบว่าเกิดจากโรคหรืออาการที่ไม่สามารถพูดได้แล้วท่านก็ใช้เวลาอยู่กับพวกเขา ท่านก็คิดไปว่า “เสียเวลา”  ทว่า “การเสียเวลานี้” สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับครอบครัว นี่เป็นความจำเป็นที่ต้องรีบกับเวลา เวลาที่เป็นกำไรกับเด็ก ๆ และกับคนชรา เพราะพวกเขาทำให้พวกเราสามารถที่จะมองเห็นชีวิตที่แท้จริง

        การแพร่ของโรคระบาดซึ่งพวกเรายังคงเผชิญ บังคับให้พวกเราต้องมีชีวิตอยู่ในสภาพนี้ – เจ็บปวด เป็นความโชคร้าย – เป็นการทำให้วัฒนธรรมชะงักลดความรวดเร็วลง และในยุคนี้หลายคนคิดว่าปูย่าตายายมีพฤติกรรมที่เป็นเครื่องขัดขวางดุจ “ตัวอบแห้ง” อย่างมีนัยสำคัญต่อเยาวชน ความสัมพันธ์ที่มองเห็นได้ระหว่างรุ่นชนชั้นที่สร้างความสมานฉันให้กับสันติสุขและจังหวะชีวิตหวนกลับมาใช้ความหวังที่จะไม่ใช้ชีวิตอย่างไร้ประโยชน์ ช่วยฟื้นฟูพวกเราแต่ละคนให้รักชีวิตที่เปราะบางของพวกเรา หาหนทางที่จะชะลอความรวดเร็วเกินความจำเป็นที่มีแต่จะทำลายพวกเรา คำพูดที่เป็นกุญแจดอกสำคัญในที่นี้ สำหรับท่านแต่ละคนที่พ่ออยากที่จะถามคือ พวกท่านทราบว่าจะใช้เวลาอย่างไรหรือไม่ หรือว่าท่านรีบร้อนเสมอจนไม่มีเวลาให้ใครเลย? “ไม่ครับ ผมกำลังเร่งรีบ ผมไม่สามารถ… “ ท่านรู้จักใช้เวลากับปู่ย่าตายายกับผู้สูงอายุหรือไม่? ท่านรู้จักใช้เวลาเล่นกับลูกๆ และกับเด็กทั่วไปหรือไม่?  นี่คือจุดสำคัญ ขอให้คิดให้ดี ๆ นี่จะเป็นการช่วยฟื้นฟูแต่ละคนให้รักชีวิตที่เปราะบางของพวกเรา ขอให้ “ปิดตาย” ณ เส้นทางถนนแห่งการรีบเร่ง ซึ่งมีแต่จะทำลายพวกเรา จังหวะชีวิตของผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรอันจะขาดเสียมิได้เพื่อที่จะเข้าใจความหมายแห่งชีวิตที่ควบคู่ไปกับเวลา ผู้สูงอายุมีจังหวะชีวิตของตน นี่แหละเป็นจังหวะชีวิตที่ช่วยพวกเราให้ต้องขอบคุณการเป็นสื่อกลางของท่านเหล่านี้ที่ทำให้เป้าหมายแห่งชีวิตที่จะพบกับพระเจ้าเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น นี่แหละเป็นแผนการในการสร้างชีวิตมนุษย์ที่ “ละม้ายคล้ายคลึงกันกับพระเจ้า” และถูกประทับตราด้วยพระบุตรของพระองค์ผู้เสด็จมารับสภาพมนุษย์

        ทุกวันนี้มนุษย์อายุยืนมากกว่าเดิม นี่ทำให้พวกเรามีโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์กันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างช่วงเวลาต่างๆ แห่งชีวิต ยิ่งมีผู้มีอายุยืนยาวมากขึ้นก็ยิ่งจะช่วยให้พวกเราเพิ่มความหมายแห่งชีวิตแบบบูรณาการมากขึ้น ความหมายของชีวิตไม่ได้อยู่ในช่วงที่พวกเรามีอายุระหว่าง 25 ถึง 60 ปี – เปล่าเลย ความหมายของชีวิตต้องครอบคลุมทั้งชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายและท่านก็ควรที่จะมีปฏิสัมพันธ์กันกับทุกคนด้วยมิติแห่งอารมณ์เพื่อที่วุฒิภาวะของท่านจะได้เข้มแข็งและมั่งคั่งสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แล้วนั่นยังจะมอบความหมายแห่งชีวิตแก่พวกเราด้วย ขอพระจิตโปรดประทานปัญญาและพลังให้พวกเราสามารถที่จะปฏิรูปสิ่งนี้ เพราะการปฏิรูปเป็นสิ่งจำเป็น การปฏิรูปนี้พวกเราต้องกระทำที่หัวใจ ที่ครอบครัว และในสังคม  ขอกล่าวย้ำอีกครั้ง พวกเราต้องปฏิรูปสิ่งใดบ้าง?  พวกเราต้องเปลี่ยนเวลาของเข็มนาฬิกาให้เป็นความสวยงามแห่งจังหวะของชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างชนรุ่นต่างๆ เป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ สังคมใดที่ผู้สูงอายุไม่พูดคุยกับเยาวชน และเยาวชนไม่พูดกับผู้สูงอายุนั่นเป็นสังคมที่เป็นหมัน เป็นสังคมที่ไม่มีอนาคต เป็นสังคมที่ไม่มองไปยังขอบฟ้า แต่ว่าจะมองอยู่เพียงแค่ตัวเอง แล้วนั่นก็จะกลายเป็นสังคมที่อ้างว้างโดดเดี่ยว ขอพระเจ้าโปรดช่วยให้พวกเราพบกับดนตรีที่ถูกต้องจังหวะสำหรับความสมานฉันกันนี้ระหว่างชนรุ่นต่างๆ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ ทุกคน อันเป็นวงดนตรีซิมโฟนีแห่งการเสวนา  ขอขอบคุณ

___________________________________

สรุปคำปราศรัยของพระสันตะปาปาฟรานซิส

ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงที่รัก

        ในการเรียนคำสอนของพวกเราต่อไปเกี่ยวกับความหมายและคุณค่าชีวิตของผู้สูงอายุที่มองจากแสงสว่างแห่งพระวาจาของพระเจ้า บัดนี้พวกเราจะพิจารณากันถึงคุณประโยชน์ที่ผู้สูงอายุสามารถมอบให้กับการพัฒนาต่อสังคมมนุษย์ ซึ่งชีวิตมนุษย์แต่ละกลุ่มชนก็มีบางสิ่งบางอย่างที่จะมอบให้เช่นเดียวกัน ผู้สูงอายุมีสิ่งต่าง ๆ มากมายที่จะสอนพวกเราเกี่ยวกับความหมายแห่งชีวิต พวกเขามีปรีชาญาณที่สั่งสมมาเป็นเวลาช้านานที่สามารถช่วยให้พวกเราสามารถเผชิญหน้าได้กับคำถามและการท้าทายใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสังคมของพวกเราทุกวันนี้ ด้วยเหตุนี้พ่อจึงใคร่ที่จะสถาปนาวันพิเศษขึ้นวันหนึ่งในเดือนกรกฎาคม เพื่อเป็นเกียรติแก่ปู่ย่าตายายและผู้สูงอายุ พันธสัญญาระหว่างเยาวชนผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้สำหรับสังคมที่ดี – ท่ามกลางความโกลาหลบ้าคลั่งของชีวิตสามารถช่วยให้พวกเราระลึกว่า เพราะมนุษย์ได้ถูกสร้างขึ้นตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า พวกเราถูกเรียกร้องให้ต้องมีวิสัยทัศน์ที่สมบูรณ์แห่งชีวิตด้วยกัน ขอให้ค้นพบการประทับอยู่ของพระเจ้าท่ามกลางพวกเรา คอยเอาใจใส่ดูแลความต้องการของบรรดาพี่น้องชายหญิงของพวกเรา จึงขอให้พวกเรารับรู้ถึงความสำคัญของผู้สูงอายุที่อยู่ท่ามกลางพวกเรา และเรียนรู้จากบุคคลเหล่านั้นว่าจังหวะที่แท้จริงของชีวิตไม่ใช่การหยุดเข็มนาฬิกา แต่เป็นความสัมพันธ์ที่สมานฉันระหว่างชนรุ่นต่างๆ 

พระสันตะปาปากล่าวทักทาย:

พ่อขอกล่าวทักทายผู้จาริกแสวงบุญที่พูดภาษาอังกฤษที่มาร่วมชุมนุมในวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มาจากประเทศนอร์เวย์ ประเทศไอร์แลนด์ และประเทศสหรัฐอเมริกา พ่อหวังว่าการเดินทางชีวิตฝ่ายจิตเข้าสู่เทศกาลมหาพรตที่พวกเราเริ่มต้นในวันนี้ด้วยการอธิษฐาน และการอดอาหาร อย่างพร้องเพรียงกัน เพื่อความสงบสุขในประเทศยูเครนจะนำพวกเราไปสู่ความปิติยินดีของเทศกาลปัสกา (อีสเตอร์) ด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์และฟื้นฟูด้วยพระคุณของพระจิต พ่อวิงวอนขอพระพรมากมายจากพระเจ้าเพื่อชาวเราทุกคน ขอพระพรอันสมบูรณ์ของพระองค์โปรดหลั่งไหลมายังลูก ๆ และ พวกท่านและครอบครัวของท่านด้วยเทอญ

(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บการสอนคำสอนของพระสันตะปาปาฟรานซิสมาแบ่งปันและไตร่ตรอง)