Jesus leaves the quiet and hidden life of Nazareth and moves to Capernaum, a port city located along the Sea of Galilee, at the crossroads of different peoples and cultures. The urgency that impels him is the proclamation of the Word of God, which must be brought to everyone. Indeed, we see in the Gospel that the Lord invites all to conversion and calls the first disciples so that they may also spread the light of the Word to others (cf. Mt 4:12-23). Let us appreciate this dynamism, which will help us live out the Sunday of the Word of God: the Word is for everyone, the Word calls everyone to conversion, the Word makes us heralds.
พระเยซูคริสต์ทรงออกจากชีวิตส่วนตัวที่เงียบสงบที่ตำบลนาซาเร็ธ และทรงเดินทางไปยังเมืองคาเปอร์นาอุม เมืองท่าซึ่งอยู่ติดกับทะเลสาบกาลิลี ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้คนจากหลากหลายวัฒนธรรมมารวมตัวกัน สิ่งที่เร่งเร้าพระองค์นั้น คือ การประกาศพระวาจาของพระเจ้าแก่ทุก ๆ คน ในความจริงนั้น พวกเราได้ยินในพระวรสารว่าพระเจ้าทรงเชื้อเชิญทุกคนให้กลับใจ อีกทั้งพระองค์ยังทรงเรียกศิษย์กลุ่มแรก เพื่อที่พวกเขาจะได้นำแสงสว่างของพระวาจาไปมอบแก่คนอื่น ๆ (เทียบ มธ. 4:12-23) ขอให้พวกเราแยกแยะไตร่ตรองเรื่องราวนี้ ซึ่งจะช่วยพวกเราให้ใช้ชีวิตในวันอาทิตย์พระวาจาของพระเจ้าอย่างแท้จริง: พระวาจามีไว้สำหรับทุกคน พระวาจาเรียกทุกคนให้กลับใจ พระวาจาทำให้พวกเราเป็นผู้แจ้งข่าว
The Word of God is for everyone. The Gospel presents us with Jesus always on the move, on his way to others. On no occasion in his public life does he give us the idea that he is a stationary teacher, a professor seated on a chair; on the contrary, we see him as an itinerant, we see him as a pilgrim, travelling through towns and villages, encountering faces and their stories. His feet are those of the messenger announcing the good news of God’s love (cf. Is 52:7-8). In Galilee of the Gentiles, on the sea route, beyond the Jordan, where Jesus preaches, there was – the text notes – a people plunged into darkness: foreigners, pagans, women and men from various regions and cultures (cf. Mt 4:15-16). Now they too can see the light. And so Jesus “enlarges the boundaries”: the Word of God, which heals and raises up, is not only destined for the righteous of Israel, but for all; he wants to reach those far away, he wants to heal the sick, he wants to save sinners, he wants to gather the lost sheep and lift up those whose hearts are weary and oppressed. In short, Jesus ‘reaches out’ to tell us that God’s mercy is for everyone. Let us not forget this: God’s mercy is for everyone, for each one of us. Each person can say, “God’s mercy is for me”.
พระวาจาของพระเจ้ามีไว้สำหรับทุกคน พระวรสารเผยให้พวกเราเห็นถึงพระเยซูคริสต์ทรงเป็นผู้ที่ไม่อยู่กับที่ โดยพระองค์ทรงออกเดินไปหาคนอื่น ๆ อยู่เสมอ ไม่มีครั้งใดในชีวิตสาธารณะของพระองค์ที่ทำให้ให้พวกเราคิดว่าพระองค์เป็นครูที่นิ่งอยู่กับที่ไม่ไปไหน อาจารย์ที่นั่งนิ่งติดอยู่กับเก้าอี้ ในทางตรงกันข้าม พวกเราเห็นพระองค์ราวกับผู้ที่เดินทางไป ๆ มา ๆ พวกเราเห็นพระองค์เป็นผู้แสวงบุญ เดินทางไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ พบปะผู้คนและแลกเปลี่ยนเรื่องราว เท้าของพระองค์คือเท้าของผู้ส่งสารที่กำลังประกาศข่าวดีเกี่ยวกับความรักของพระเจ้า (เทียบ อสย. 52:7-8)
This aspect is fundamental also for us. It reminds us that the Word is a gift addressed to everyone; therefore we can never restrict its field of action, for beyond all our calculations, it springs forth in a spontaneous, unforeseen and unpredictable way (cf. Mk 4:26-28), in the ways and times that the Holy Spirit knows. Moreover, if salvation is destined for all, even the most distant and lost, then the proclamation of the Word must become the main priority of the ecclesial community, as it was for Jesus. May it not happen that we profess a God with an expansive heart, yet become a Church with a closed heart – this, I dare say, would be a curse; may it not happen that we preach salvation for all, yet make the way to receive it impractical; may it not happen that we recognize we are called to proclaim the Kingdom, yet neglect the Word, losing ourselves in so many secondary activities or discussions. Let us learn from Jesus to put the Word at the centre, to enlarge our boundaries, to open ourselves up to people, and to foster experiences of encounter with the Lord, realizing that the Word of God “is not encased in abstract or static formulas, but has a dynamic power in history which is made up of persons and events, words and actions, developments and tensions”. [1]
มุมมองนี้เป็นมุมมองที่สำคัญสำหรับพวกเรา ซึ่งทำให้พวกเราพึงระลึกว่าพระวจนาถต์เป็นของขวัญสำหรับทุกคน ดังนั้นพวกเราไม่สามารถจำกัดกรอบการกระทำของพระวจนาถต์ ซึ่งเหนือกว่าความสามารถในการนึกคิดของพวกเรา พระวจนาถต์ ในหนทางที่ไม่คาดคิด (เทียบ มก. 4:26-28) ในหนทางและเวลาที่พระจิตทรงเป็นผู้เดียวที่รู้ทุกสิ่ง นอกจากนี้ หากการรอดพ้นได้ถูกกำหนดไว้แล้วสำหรับทุกคน ซึ่งรวมไปถึงคนที่อยู่ห่างไกลมากและหลงทาง การประกาศพระวาจาของพระเจ้าต้องกลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของชุมชนพระศาสนจักร และของพระเยซูคริสต์เช่นเดียวกัน และขอให้ไม่มีเหตุการณ์ที่พวกเราปรารถนาปฏิญาณตนต่อพระเจ้าด้วยใจที่เปิดกว้าง แต่กลับกลายว่าเป็นพระศาสนจักรที่ปิดกั้น พ่อกล้าพูดว่าสิ่งนี้จะเป็นคำสาป ขอให้ไม่มีเหตุการณ์ที่พวกเราเทศน์ว่าทุกคนเข้าถึงความรอด แต่ว่าเส้นทางที่จะไปถึงนั้นกลับแทบจะทำไม่ได้จริง ขอให้ไม่มีเหตุการณ์ที่พวกเรารับรู้ว่าพวกเราถูกเรียกเพื่อประกาศอาณาจักร แต่ว่าพวกเรากลับละเลยพระวาจา เสียเวลาไปกับกิจกรรมที่ไม่จำเป็นหรือการพูดคุย ขอให้พวกเราเรียนรู้จากพระเยซูคริสต์ซึ่งทรงนำพระวาจามาเป็นศูนย์กลาง ขยายเส้นขอบเขต เปิดกว้างต่อผู้คน และเสริมสร้างประสบการณ์ในการพบปะพระเจ้า เห็นว่าพระวาจาของพระเจ้า “ไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่จับต้องไม่ได้หรือเป็นสูตรตายตัว แต่กลับเป็นพลังที่เคลื่อนไหวในประวัติศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้คนและเหตุการณ์ คำพูดและการกระทำ การพัฒนาและภาวะตึงเครียด” [1]
Let us now come to the second aspect: the Word of God, which is addressed to all, calls everyone to conversion. In fact, Jesus repeats in his preaching: “Repent, for the kingdom of heaven is at hand” (Mt 4:17). This means that God’s nearness is not inconsequential, his presence does not leave things as they are, it does not advocate a quiet life. On the contrary, his Word shakes us, disturbs us, incites us to change, to conversion. It throws us into crisis because it “is living and active and sharper than any two-edged sword, piercing until it divides soul from spirit, joints from marrow; it is able to judge the thoughts and intentions of the heart” (Heb 4:12). Like a sword, the Word penetrates life, enabling us to discern the feelings and thoughts of the heart, that is, making us see where the light of goodness is to be afforded room and where, instead, the thick darkness of vices and sins is to be resisted. When it enters us, the Word transforms our hearts and minds; it changes us and leads us to direct our lives to the Lord.
ขอให้พวกเรามายังเรื่องที่สอง : พระวาจาของพระเจ้า ซึ่งมอบให้แก่มนุษย์ทุกคน เรียกทุกคนกลับใจ ในความจริง พระเยซูคริสต์ย้ำในบทเทศน์ของพระองค์ : “จงกลับใจเถิด เพราะอาณาจักรสวรรค์fอยู่ใกล้แล้ว” (มธ. 4:17) ซึ่งหมายความว่าการที่พระเจ้าอยู่ใกล้ไม่ได้เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การประทบของพระองค์ไม่ได้ปล่อยให้สิ่งต่าง ๆ นั้นเหมือนเดิม และไม่ได้ทำให้เกิดชีวิตเงียบ ๆ ในทางกลับกัน พระวาจาของพระเจ้าเขย่าพวกเรา กระตุ้นพวกเรา รบเร้าให้พวกเราเปลี่ยน ให้พวกเรากลับใจ พระวาจาของพระเจ้าเหมือนการโยนพวกเราเข้าสู่วิกฤติเนื่องจากพระวาจา “เป็นพระวาจาที่มีชีวิตและบังเกิดผล คมยิ่งกว่าดาบสองคมใดๆ แทงทะลุเข้าไปถึงจุดที่วิญญาณและจิตใจแยกจากกัน ถึงเส้นเอ็นและไขกระดูก วินิจฉัยความรู้สึกนึกคิดภายในใจได้” (ฮบ. 4:12). เหมือนกับกระบี่ พระวาจาแทงเข้ามาในชีวิต ทำให้พวกเราไตร่ตรองแยกแยะความรู้สึกและความคิดที่อยู่ภายในใจ ซึ่งก็คือทำให้พวกเราเห็นว่าแสงสว่างของพระเจ้าควรรับเข้ามา และในทางกลับกัน ความมืดมิดจากความชั่วและบาปจำเป็นต้องถูกสกัดกั้น เมื่อพระวาจาเข้ามาหาพวกเรา พระวาจาเปลี่ยนจิตใจของพวกเรา และเปลี่ยนพวกเรา อีกทั้งพระวาจายังนำพวกเราไปยังพระเจ้า
Here is Jesus’ invitation: God has come close to you; recognize his presence, make room for his Word, and you will change your outlook on life. I can also put it like this: place your life under the Word of God. This is the path the Church shows us. All of us, even the pastors of the Church, are under the authority of the Word of God. Not under our own tastes, tendencies and preferences, but under the one Word of God that moulds us, converts us and calls us to be united in the one Church of Christ. So, brothers and sisters, we can ask ourselves: Where does my life find direction, from where does it draw its orientation? From the many “words” I hear, from ideologies, or from the Word of God that guides and purifies me? What are the aspects in me that require change and conversion?
นี่คือคำเชิญของพระเยซูคริสต์ : พระเจ้าทรงมาใกล้ลูก ทรงทำให้ลูกเห็นถึงการประทับของพระองค์ และลูกจะเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับชีวิต หรือกล่าวสั้น ๆ ว่า ขอให้ลูกวางชีวิตไว้บนพระวาจาของพระองค์ นี่คือเส้นทางที่พระศาสนจักรแสดงให้พวกเราเห็น พวกเราทุกคน รวมถึงศาสนบริกรของพระศาสนจักรอยู่ภายใต้อำนาจของพระวาจาของพระเจ้า ไม่ได้อยู่ภายใต้ความชอบส่วนตัวของพวกเรา แต่อยู่ภายใต้พระวาจาหนึ่งเดียวของพระเจ้า ซึ่งปั้นพวกเรา เปลี่ยนแปลงพวกเรา และเรียกพวกเราให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรของพระเยซูคริสต์ ดังนี้แล้ว ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงทั้งหลาย พวกเราสามารถถามตัวเองว่า ที่ใดที่ชีวิตของพวกเราพบเส้นทางเดิน และเส้นทางนั้นจะพาพวกเราไปที่ใด ? จากคำพูดมากมายที่พวกเราได้ยิน คำพูดเหล่านี้ซึ่งนำพาพวกเราและชำระจิตใจของพวกเรา มาจากแนวคิด หรือมาจากพระวาจา ? อะไรในตัวพวกเราที่จะต้องเปลี่ยนแปลงและได้รับการกลับใจ ?
Finally – the third step – the Word of God, which is addressed to everyone and calls us to conversion, makes us heralds. Indeed, Jesus walks along the shore of the Sea of Galilee and calls Simon and Andrew, two brothers who were fishermen. With his Word he invites them to follow him, telling them that he will make them “fishers of men” (Mt. 4,19): no longer just experts in boats, nets and fish, but experts in seeking others. And just as in sailing and fishing they had learned to leave the shore and cast their nets into the deep, in the same way they would become apostles capable of sailing upon the open seas of the world, of going out to meet their brothers and sisters and proclaiming the joy of the Gospel. This is the dynamism of the Word: it draws us into the “net” of the Father’s love and makes us apostles moved by an unquenchable desire to bring all those we encounter into the barque of the Kingdom. This is not proselytism because it is the Word of God that calls us, not our own word.
สุดท้าย ขั้นตอนที่สาม ซึ่งเกี่ยวกับพระวาจาของพระเจ้า โดยพระวาจาของพระเจ้าเป็นพระวาจาสำหรับทุกคน และเรียกพวกเราให้กลับใจ ทำให้พวกเราเป็นผู้ประกาศพระวาจา ในความจริง พระเยซูคริสต์เดินตามชายหาดของทะเลกาลิลี และเรียกซีโมน และอันดรูว์ พี่น้องสองคนซึ่งเคยเป็นชาวประมง ด้วยพระวาจาของพระองค์ พระเยซูคริสต์เชิญชวนพวกเขาให้เดินตามพระองค์ โดยบอกแก่พี่น้องทั้งสองว่าพระองค์จะทำให้พวกเขากลายเป็น “ชาวประมงหามนุษย์” (มธ. 4,19) ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเรือ แห และปลา แต่กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการหาผู้คนอื่น ๆ เหมือนกับการออกเรือและการหาปลาที่พวกเราได้เรียนรู้เพื่อที่จะออกจากชายหาดและหว่านแหในที่ลึก พวกเขากลายเป็นศิษย์ที่สามารถเดินเรือไปยังทะเลที่กว้างใหญ่ของโลก ไปพบปะพี่น้องชายหญิงและประกาศความปีติยินดีของพระวรสาร นี่คือ ของพระวาจา : พระวาจาดึงพวกเราไปติดใน “แห” แห่งความรักของพระบิดา และทำให้พวกเราเป็นศิษย์ ซึ่งความปรารถนาไม่สิ้นสุดเป็นเครื่องชี้นำ อันจะนำพาทุกคนที่พวกเราพบปะไปยังอาณาจักรสวรรค์ นี่ไม่ใช่การพยายามบังคับให้คนอื่นเปลี่ยนศาสนา เนื่องจากนี่คือพระวาจาของพระเจ้าที่เรียกพวกเรา ซึ่งไม่ได้เป็นความคิดเห็นที่มาจากพวกเรา
Today let us also hear the invitation to be fishers of men: let us feel that we are called by Jesus in person to proclaim his Word, to bear witness to it in everyday life, to live it in justice and charity, called to “give it flesh” by tenderly caring for those who suffer. This is our mission: to become seekers of the lost, oppressed and discouraged, not to bring them ourselves, but the consolation of the Word, the disruptive proclamation of God that transforms life, to bring the joy of knowing that He is our Father and addresses each one of us, to bring the beauty of saying, “Brother, sister, God has come close to you, listen and you will find in his Word an amazing gift!”
ในวันนี้ขอให้พวกเราฟังคำเชิญของพระองค์ที่เรียกให้พวกเราเป็นชาวประมงหามนุษย์ : ขอให้พวกเรารู้สึกว่าพระเยซูคริสต์ทรงเรียกพวกเราด้วยพระองค์เอง ให้ประกาศพระวาจาของพระเจ้า เพื่อที่จะใช้ชีวิตในพระวาจา ด้วยความยุติธรรมและความรัก และทรงเรียกให้พวกเราทำให้ “พระวาจากลายเป็นเนื้อหนัง” โดยผ่านการดูแลบุคคลที่ทุกข์ทรมาน นี่เป็นภารกิจของพวกเรา : จงเป็นผู้คนหาผู้ที่สาบสูญ ถูกรังแก และรู้สึกท้อแท้ โดยที่พวกเราไม่ได้เป็นคนที่พาพวกเขามา แต่เป็นการปลอบโยนของพระวาจา เป็นการประกาศเกี่ยวกับพระเจ้าที่ทรงเปลี่ยนแปลงชีวิต จงนำมาซึ่งความปีติยินดีเมื่อได้รู้จักพระองค์ ผู้เป็นพระบิดา อีกทั้งยังเป็นพระวาจาสำหรับพวกเราแต่ละคน จงนำพาความสวยงามเมื่อกล่าวว่า “พี่น้องชายหญิง พระเจ้าเสด็จมาอยู่ใกล้กับท่าน ขอให้ท่านฟัง และท่านจะพบพระวาจาของพระองค์เป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่ !”
Brothers and sisters, I would like to conclude by simply thanking those who work to make sure that the Word of God is shared, proclaimed and put at the centre of our lives. Thank you to those who study and delve into the riches of the Word. Thank you to the pastoral workers and to all Christians engaged in the work of listening to and spreading the Word, especially lectors and catechists. Today I will confer these ministries on some of you. Thank you to those who have accepted the many invitations I have made to take the Gospel with them everywhere and to read it every day. And finally, I especially thank our deacons and priests. Thank you, dear brothers, for you do not let God’s holy people be deprived of the nourishment of the Word. Thank you for committing yourselves to meditating on it, living it and proclaiming it. Thank you for your service and your sacrifices. May the sweet joy of proclaiming the Word of salvation be a consolation and reward for all of us.
ลูก ๆ และพี่น้องชายหญิงทั้งหลาย พ่อขอสรุปสั้น ๆ ด้วยการขอบคุณแด่ผู้ที่ทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อแบ่งปัน และประกาศพระวาจาของพระเจ้า รวมทั้งนำพระวาจาของพระเจ้าให้เป็นศูนย์กลางของชีวิต พ่อขอขอบคุณผู้ที่ศึกษาและดำดิ่งเข้าไปในความร่ำรวยของพระวาจา พ่อขอขอบคุณผู้ที่ทำงานด้านการอภิบาล และคริสตชนทุกคนที่ทำงานเกี่ยวกับการฟังและการประกาศพระวาจา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อ่านพระวาจาและครูคำสอน ในวันนี้ พ่อจะมอบศาสนบริการให้แก่พวกท่านบางคน พ่อขอขอบคุณผู้ที่ตอบรับคำเชิญของพ่อให้ถือพระคัมภีร์ติดตัวไว้ และหยิบมาอ่านทุกวัน และสุดท้ายพ่อขอขอบคุณดีเคิน (สังฆนุกร) และบาดหลวง พ่อขอขอบคุณบรรดาพี่น้องนักบวชภราดาต่าง ๆ ซึ่งไม่เคยปล่อยให้ประชากรของพระเจ้าต้องขาดพระวาจา พ่อขอขอบคุณที่อุทิศต่อการรำพึงพระวาจา ขอให้ความสุขในการประกาศพระวาจาแห่งความรอดเป็นความบรรเทาใจและเป็นรางวัลสำหรับพวกเราทุกคน
[1] The Word of God in the Life and Mission of the Church, Instrumentum laboris for the XII Ordinary General Assembly of the Synod of Bishops, 2008, n. 10.
(วิษณุ ธัญญอนันต์ และธัญภรณ์ ลีกำเนิดไทย เก็บบทเทศน์นี้มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)