วันจันทร์, 20 มกราคม 2568
  

เกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เลขานุการของพระสันตะปาปาแถลงข่าวเพื่อชี้แจง

นครวาติกัน วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 13.32 น.

        แม้พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงส่งเสริมการบริจาคอวัยวะของร่างกาย และพระองค์เคยมีพระประสงค์ในการบริจาคอวัยวะของพระองค์อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 1970 เมื่อยังคงเป็นคุณพ่อโจเซฟ รัชชิงเกอร์ อาจารย์ทางเทววิทยา ทว่าตั้งแต่ปี 2005 พระองค์ไม่อาจที่จะบริจาคอวัยวะเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปหลังจากได้รับการเลือกให้เป็นพระสันตะปาปาตามการประกาศของเลขานุการของพระองค์

        มงซินญอร์ยอร์ก แกนสไวน์ (Georg Gänswein) เลขานุการส่วนพระองค์ในสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ขอยุติการอภิปรายในประเทศเยอรมนีว่าพระสันตะปาปายังถือบัตรรอการบริจาคอวัยวะหรือไม่?

        สถานีโทรทัศน์กลอรีอา (Gloria TV) แสดงให้พวกเราเห็นสำเนาจดหมายจากเลขานุการให้นายแพทย์ชาวเยอรมันท่านหนึ่งที่ระบุถึงสถานภาพแห่งการบริจาคอวัยวะของพระสันตะปาปา  ซึ่งมีรายงานว่า ดร. เจโร วินเคลแมนน์ (Dr. Gero Winkelmann) พยายามที่จะสร้างความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับความคิดของการบริจาคในการสอนและในบทความของเขาโดยกล่าวว่าพระสันตะปาปาเองทรงมีบัตรอย่างเป็นทางการว่าพระองค์เป็นผู้ที่จะถวายอวัยวะของพระองค์เอง

        ก่อนที่จะได้รับการเลือกให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งอัครสาวกเปโตร ต่อจากพระสันตะปาปาจอห์น พอลที่ 2 พระสันตะปาปาได้เลือกอย่างอิสระที่จะถวายอวัยวะของพระองค์ตั้งแต่ปี 1970 ซึ่งมงซินญอร์แกนสไวน์ (Gaenswein) อธิบายในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ แต่ต่อมาท่านเขียนว่าการบริจาคนั้นถือว่าเป็น “การยกเลิก” ไปแล้ว เมื่อพระคาร์ดินัลโจเซฟ รัชซิงเกอร์ ได้รับการเลือกขึ้นเป็นพระสันตะปาปาเบเนดิกซ์ ที่ 16

อาร์ชบิชอปซิกมุนท์ ซีโมวสกี้ (Zygmunt Zimowski) เจ้าหน้าที่อนามัยแห่งนครรัฐวาติกันกล่าวกับนักข่าวหนังสือพิมพ์รีพุบบริกา (Repubblica) ว่าร่างกายของพระสันตะปาปาจะต้องอยู่ครบถ้วนสมบูรณ์ “เพราะว่าร่างกายทุกส่วนเป็นสมบัติของพระศาสนจักรทั้งกายและวิญญาณ

        ท่านกล่าวเพิ่มเติมว่า “อย่าไปคำนึงถึงความถูกต้องและความสวยงามแห่งของขวัญแห่งการบริจาคอวัยวะ”

        จนถึงบัดนี้แม้จะยังไม่มีการร้องขออวัยวะของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 คำสอนของพระองค์เกี่ยวกับประเด็นนี้ยังใช้ได้อยู่ แม้ในฐานะที่เป็นพระสันตะปาปาพระองค์ก็ยังคงพูดถึงความจำเป็นที่ต้องมีการบริจาคอวัยวะและความสวยงามแห่งการอุทิศร่างกาย

        พระองค์กล่าวถึงความสำคัญของการบริจาคอวัยวะในเดือนพฤศจิกายน 2008 ในคำปราศรัยประทานกับผู้เข้าร่วมสมัชชาเรื่องการปลูกถ่ายอวัยวะที่จัดขึ้นโดย สถาบันแห่งสันตะสำนักเพื่อชีวิต (Pontifical Academy for Life) ในโอกาสนั้นพระองค์ทรงตรัสว่าการบริจาคอวัยวะเป็น “กุศลธรรมแห่งความรัก… ซึ่งเป็นประจักษ์พยานที่แท้จริงแห่งความรัก ซึ่งทำให้รู้จักมองข้ามความตายเพื่อที่ชีวิตจะได้รับชัยชนะ”

_____________________________

พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ไม่สามารถที่จะบริจาคอวัยวะได้อีกแล้ว

โดยสำนักข่าว Reuters Life!

        นครรัฐวาติกัน (Reuters Life!) พระสันตะปาปาเบเนดิกต์มีจุดอ่อนในหัวใจสำหรับการบริจาคอวัยวะ อวัยวะในร่างกายของพระองค์ไม่สามารถนำไปบริจาคเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่นหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์

        นายแพทย์ชาวเยอรมันผู้หนึ่งมักจะพูดถึงความจริงว่าพระสันตะปาปาทรงมีบัตรอย่างเป็นทางการฐานะผู้มอบอวัยวะจากสมาคมแพทย์ เพื่อถวายให้กับนักศึกษาแทพย์ไปศึกษาทดลอง สำนักวาติกันขอร้องให้นายแพทย์ผู้นี้หยุดพูดเรื่องนี้แต่เขาไม่ยอมหยุด

        เพื่อชี้แจงกับเรื่องนี้เลขานุการของพระสันตะปาปา มงซินญอร์ยร์ก แกนสไวน์ (Georg Gaenswein) ได้ส่งจดหมายไปถึงนายแพทย์ผู้นั้นพร้อมข่าวสารในจดหมายนั้นถูกนำไปประกาศในวิทยุวาติกันในโปรแกรมภาษาเยอรมัน

        “เป็นความจริงว่าพระสันตะปาปาทรงมีบัตรผู้บริจาคอวัยวะ… ทว่าเจตนารมณ์นั้นขัดแย้งกับความคิดสาธารณะ บัตรนั้นออกให้ตั้งแต่ปี 1970 ซึ่งในตัวเองแล้วกลายเป็นโมฆะจากการเลือกตั้งพระคาร์ดินัลโจเซฟ รัทซิงเกอร์ (Ratzinger) ขึ้นเป็นพระสันตะปาปา” วิทยุวาติกันอ้างจากจดหมายนั้น

        ในปี 1999 ก่อนที่พระองค์จะได้รับการเลือกตั้งเป็นพระสันตะปาปา ขณะนั้นพระคาร์ดินัลโจเซฟ รัทซิงเกอร์ (Joseph Ratzinger) เผยว่าพระองค์ติดบัตรนั้นไว้กับตัวเสมอ และพระองค์สนับสนุนให้ผู้อื่นนำไปปฏิบัติดุจ “กุศลธรรมแห่งความรัก”

        เจ้าหน้าที่ระดับสูงของนครรัฐวาติกันกล่าวว่า หลังจากพระสันตะปาปาสิ้นพระชนม์ร่างกายของพระองค์ทั้งครบเป็นสมบัติของพระศาสนจักรทั้งปวงและต้องฝังโดยมีร่างกายอย่างครบถ้วน ยิ่งไปกว่านั้นอีกถ้าหากอวัยวะของพระสันตะปาปาถูกบริจาคไปจะกลายเป็นพระธาตุในร่างกายของผู้อื่น ในกรณีที่พระองค์อาจถูกสถาปนาขึ้นเป็นนักบุญ

(ตรวจทานโดย Paul Casciato)

——————————

พระคาร์ดินัลเชโอง (Cheong) บริจาคอวัยวะโดยไม่ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ

ข่าวล่าสุด : 2021-03-02 16:40 ข่าวโดย พัค จีวอน (Park Ji-won)

      
 

พระคาร์ดินัลนิโคลาส เชโอง จิน-ซุก (Nicholas Cheong Jin-suk) อาร์ชบิชอปกิตติคุณแห่งกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เข้าโรงพยาบาลวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2021 และเลือกที่จะไม่รับเครื่องช่วยชีวิตในขณะที่เซ็นชื่อมอบสมบัติส่วนตัวให้กับการกุศล ท่านกล่าวในเอกสารซึ่งทำให้คนจำนวนมากเลือกที่จะอุทิศอวัยวะและปฏิเสธเครื่องช่วยชีวิต

“ท่านมีไข้เล็กน้อยหลังจากที่เข้าโรงพยาบาลแต่ท่านสามารถพูดได้ ก่อนเข้าโรงพยาบาลท่านสั่งอย่างชัดเจนว่าท่านจะไม่ยอมรับการผ่าตัด”

เอกสารที่ลงนามโดยพระคาร์ดินัลนิโคลัส เชโอง จิน-ซุก (Nicholas Chong Jin-suk) ในวันที่ 27 กันยายน 2018 เกี่ยวกับความปรารถนาของท่านที่จะเป็นผู้บริจาคอวัยวะและปฏิเสธเครื่องช่วยชีวิตโดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอบใจทุกคนที่อยู่รอบตัวข้าพเจ้า โปรดให้อภัยต่อความผิดของข้าพเจ้า หากเป็นได้ข้าพเจ้าใคร่ที่จะมอบกระจกตาของข้าพเจ้า ขอพระเจ้าจงได้รับการสรรเสริญ”
 

“พระคาร์ดินัลเชโอง (Cheong) ลงนามเอกสารวันที่ 27กันยายน 2018 ขอร้องไม่ให้มีการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมตัวที่จะสิ้นชีวิต ในปี 2006 ท่านยังขอเจ้าหน้าที่การแพทย์ให้ช่วยท่านบริจาคอวัยวะและกระจกตา หากอวัยวะของท่านไม่อาจใช้การได้เพราะท่านมีอายุมากแล้ว ท่านขอมอบดวงตาของท่านให้กับการค้นคว้าวิจัย วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ท่านมอบสมบัติทั้งหมดของท่านให้กับองค์กรกุศลซึ่งรวมถึง “เมยองดอง บับจีบ Myeongdong Babjib” และการศึกษาด้านศาสนาของเด็ก ๆ

        พระคาร์ดินัลเชโอง (Cheong) ต้องรับการผ่าตัดที่ซับซ้อนหลายครั้งในอดีตเพราะโรคเรื้อรังและท่านก็มีอาการดีขึ้น แถลงการณ์แจ้งด้วยว่าพระคาร์ดินัลไม่ต้องการที่จะเข้าโรงพยาบาลในครั้งนี้ แต่หลายคนแนะนำให้ท่านเข้าโรงพยาบาลเพราะท่านรู้สึกมีความเจ็บปวด

        แถลงการณ์ออกมาหลังที่มีการสำรวจแสดงว่ามีชาวเกาหลีเพิ่มขึ้นที่เลือกที่จะไม่ใช้เครื่องช่วยชีวิต ซึ่งเกี่ยวกับกฎหมายที่ออกมาในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2018 ซึ่งอนุญาตให้ประชาชนมีสิทธิเลือก จากสถิติล่าสุดของหน่วยงานการบริหารจัดการแห่งชีวิตเรื่องเครื่องมือช่วยชีวิต ประมาณ 790,193 คนเลือกที่จะไม่ใช้เครื่องมือช่วยชีวิตระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2018 และ ธันวาคม 2020

สถิติชี้ให้เห็นว่าจำนวนผู้ลงทะเบียนบริจาคอวัยวะน้อยมาก ตามข้อมูลจากกระทรวงความปลอดภัยแห่งอาหารและยา ผู้บริจาคอวัยวะ 77 คนเสียชีวิตในปี 2018 แต่ในปี 2019 จำนวนผู้บริจาคเสียชีวิตเพียง 36 คน ลดไปกว่าครึ่ง ในปี 2018 จำนวนผู้ลงทะเบียนบริจาคอวัยวะประกาศว่าเกิดสมองตาย 144 คน จำนวนลดลงเหลือ 92 คนในปี 2019

พระคาร์ดินัลเชโอง (Cheong) ซึ่งเป็นบิชอปหนุ่มที่สุดในประเทศเกาหลีเมื่อท่านอายุ 39 ปีใน ค.ศ. 1970 รับใช้เป็นอาร์บิชอปแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงโซลระหว่าง ค.ศ. 1998-2012 ต่อจากพระคาร์ดินัลสตีเฟน คิม ซู-ฮวาน (Stephen Kim Sou-hwan) ท่านเป็นพระคาร์ดินัลคนที่สองของประเทศเกาหลี

ในปี 2006 หลังพระคาร์ดินัลคิม ซู-ฮวาน ก้าวลงจากตำแหน่งพระคาร์ดินัล ในปี 2012 พระคาร์ดินัลเชโองมุ่งมั่นเขียนและแปลหนังสือที่มหาวิทยาลัยเกาหลี ท่านเขียนหนังสือกว่า 500 เล่ม ซึ่งหลายเล่มเกี่ยวกับประมวลกฎหมายพระศาสนจักร

(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บข่าวเรื่องการบริจาคอวัยวะมาแบ่งปันและไตร่ตรอง)