สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเผยแพร่สาส์นเนื่องในวันผู้ป่วยสากลครั้งที่ 30 และทรงเรียกร้องให้ชาวคาทอลิกและสถาบันที่ดำเนินกิจการโดยพระศาสนจักรพยายามรักษาและบรรเทาบาดแผลของผู้เจ็บป่วยที่ทุกข์ทรมานต่อไป
โดย เดวิน วัตกินส์
4 มกราคม 2022, 12:00 น.
“จงเป็นผู้เมตตากรุณา ดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” (ลก 6:36): ยืนเคียงข้างผู้ทุกข์ยากบนเส้นทางแห่งความรักเมตตา”
ถ้อยคำเหล่านั้นเป็นสาระสำคัญของสาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาสำหรับวันผู้ป่วยโลก ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ (แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ฝรั่งเศส)
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงตรัสว่า เป็นเวลา 30 ปีนับตั้งแต่สมเด็จพระสันตะปาปานักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ทรงตั้งวันผู้ป่วยสากลขึ้นเพื่อกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนของพระศาสนจักร “เอาใจใส่ผู้ป่วยและผู้ที่ดูแลพวกเขามากขึ้น”
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงขอบคุณสำหรับความก้าวหน้าอย่างมากในด้านการรักษาพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ขณะที่ระลึกว่าผู้คนจำนวนมากยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ระบบบริการสุขภาพและงานอภิบาลให้บริการได้ไม่ดี
พระองค์ทรงตั้งข้อสังเกตว่าการเฉลิมฉลองประจำปีของวันผู้ป่วยสากลเกิดขึ้นที่มหาวิหารนักบุญเปโตร แทนที่จะเป็นในอาเรกีปา ประเทศเปรู (Arequipa, Peru) ตามที่ทรงวางแผนไว้ในตอนแรก เนื่องจากวิกฤตสุขภาพที่กำลังดำเนินอยู่
สาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสมีขึ้นในช่วงสั้นๆ ไม่กี่เดือนหลังจากที่พระองค์ทรงพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเจเมลลี (Gemelli) ในกรุงโรมในช่วงสั้นๆหลังจากได้รับการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ตามกำหนด
.
‘เมตตาเหมือนพระบิดา’
• • —– ٠ ✤ ٠ —– • •
ในสาส์นของพระองค์ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้ทรงไตร่ตรองถึงแง่มุมต่างๆของ “ความเมตตา” โดยเริ่มจากความเมตตาของพระบิดา
พระองค์ทรงกล่าวว่าพระเมตตาของพระเจ้าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของพระองค์และผสมผสาน “ความเข้มแข็งและความอ่อนโยน”
“พระเจ้าทรงห่วงใยเราด้วยกำลังของบิดาและความอ่อนโยนของมารดา พระองค์ทรงปรารถนาอย่างไม่หยุดยั้งที่จะให้ชีวิตใหม่แก่เราในพระจิตเจ้า”
‘พระเยซู ความเมตตาของพระบิดา’
• • —– ٠ ✤ ٠ —– • •
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงตรัสว่าพระเยซูทรงเป็นพยานที่ดีที่สุดต่อความรักความเมตตาของพระบิดาที่ทรงมีต่อผู้ป่วย
ในพระชนม์ชีพบนแผ่นดินโลก พระเยซูทรงรักษาโรคและความเจ็บป่วยทุกรูปแบบ และทรงกำหนดให้เป็นส่วนสำคัญในภารกิจงานธรรมทูตของพระองค์ที่มีต่ออัครสาวก ผู้ถูกส่งไปเพื่อ “ประกาศพระวรสารและรักษาคนป่วย”
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงใช้การพิจารณาของนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล เลวินาส (Emmanuel Levinas) เพื่อสำรวจว่าเหตุใดการปรนนิบัติผู้ป่วยจึงเป็นส่วนสำคัญของพันธกิจคริสตชน
นายเลวินาส (Mr. Levinas) กล่าวว่า “ความเจ็บปวดแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง และการแยกตัวโดยสิ้นเชิงทำให้เกิดความจำเป็นในการร้องขอไปยังอีกคนหนึ่ง เพื่อเรียกอีกฝ่ายหนึ่ง”
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงกล่าวว่าประสบการณ์อันเฉียบแหลมของความอ่อนแอของมนุษย์กระตุ้นให้เราค้นหาคนที่อยู่ใกล้เรา และเป็นหน้าที่ของพระศาสนจักรที่จะตอบสนองด้วยเครื่องหมายที่เป็นรูปธรรมของความรักเมตตาของพระเจ้า
“เมื่อบุคคลประสบกับความอ่อนแอและความทุกข์ทรมานในร่างกายของตนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย จิตใจของพวกเขาจะหนักอึ้ง ความกลัวแผ่ขยาย ความไม่แน่นอนทวีคูณ และคำถามเกี่ยวกับความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจะกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนมากขึ้น”
‘สัมผัสร่างกายที่ทนทุกข์ของพระคริสต์’
• • —– ٠ ✤ ٠ —– • •
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสยังทรงพิจารณาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลายคนซึ่งปฏิบัติศาสนกิจประจำวันต่อ “ร่างกายที่ทนทุกข์ของพระคริสต์”
พระองค์ทรงขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์และอาสาสมัครทุกคนที่อุทิศชีวิตเพื่อช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก
“บุคลากรทางการแพทย์ที่รัก บริการของท่านเคียงข้างผู้ป่วย ด้วยความรักและความสามารถ อยู่เหนือขอบเขตของอาชีพของท่านและกลายเป็นภารกิจ มือของท่านซึ่งสัมผัสร่างกายที่ทนทุกข์ของพระคริสต์สามารถเป็นเครื่องหมายแห่งพระหัตถ์อันเปี่ยมด้วยพระเมตตาของพระบิดา คำนึงถึงศักดิ์ศรีอันยิ่งใหญ่ของอาชีพของท่านตลอดจนความรับผิดชอบซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้”
ในเวลาเดียวกัน สมเด็จพระสันตะปาปาทรงยกย่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการรักษาในด้านการแพทย์
พระองค์ทรงเสริมว่าไม่มีความก้าวหน้าใดที่ทำให้เรา “ลืมเอกลักษณ์ของผู้ป่วยแต่ละคน ศักดิ์ศรีและความอ่อนแอของเขา” พระองค์ทรงกล่าวว่าผู้ป่วย “มีความสำคัญมากกว่าโรคของพวกเขาเสมอ”
‘ศูนย์ดูแลเป็น “บ้านแห่งความเมตตา”’
• • —– ٠ ✤ ٠ —– • •
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงกล่าวว่าวันผู้ป่วยสากลช่วยให้พระศาสนจักรสามารถติดตามการอุทิศตนอันยาวนานในการจัดหาการรักษาพยาบาลให้กับคนยากจนและคนชายขอบโดยการเปิดโรงพยาบาลและคลินิกในพื้นที่ยากจน
พระองค์ทรงยืนยันงานของสถาบันสุขภาพคาทอลิก เรียกพวกเขาว่า “สมบัติล้ำค่าที่จะได้รับการคุ้มครองและการถนอม” เนื่องจากพวกเขาเสนอ “ของขวัญแห่งความรักเมตตา”
“ในเวลาที่วัฒนธรรมของขยะ(Culture of waste ) แพร่หลายและชีวิตไม่ได้รับการยอมรับว่าสมควรได้รับการต้อนรับและใช้ชีวิต โครงสร้างเหล่านี้เช่น ‘บ้านแห่งความเมตตา’ สามารถเป็นแบบอย่างในการปกป้องดูแลทุกชีวิต แม้แต่ที่เปราะบางที่สุดตั้งแต่ต้นจนจบตามธรรมชาติ”
ความรักเมตตาด้านอภิบาล: การมีอยู่และความใกล้ชิด’
• • —– ٠ ✤ ٠ —– • •
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแสดงความขอบคุณต่อผู้ที่ดูแลงานอภิบาลในหมู่ผู้ป่วย
ผู้ที่ปฏิบัติตามคำเชื้อเชิญของพระคริสต์ รวมทั้ง ผู้เชี่ยวชาญเช่นจิตตาภิบาลในโรงพยาบาล และกับชาวคาทอลิกทั่วไปที่ใช้เวลาไปเยี่ยมเพื่อนบ้านที่ป่วย
“หากการเลือกปฏิบัติที่แย่ที่สุดที่คนยากจนประสบ – รวมถึงผู้ป่วยที่สุขภาพไม่ดี – คือการขาดความเอาใจใส่ทางจิตวิญญาณ เราต้องมอบความใกล้ชิดของพระเจ้า พระพรของพระองค์ และพระวาจาของพระองค์แก่พวกเขา ตลอดจนศีลศักดิ์สิทธิ์และโอกาสสำหรับการเดินทางของการพัฒนาและการเติบโตในความเชื่อ”
เป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์ในความทุกข์ทรมานของเรา
• • —– ٠ ✤ ٠ —– • •
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงสรุปสาส์นวันผู้ป่วยสากลครั้งที่ 30 โดยทรงมอบให้ผู้ป่วยทั้งหมดและครอบครัวแด่พระแม่มารีย์เพื่อสุขภาพของผู้ทุพพลภาพ
“เป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์ผู้ทรงแบกรับความเจ็บปวดของโลก ขอให้พวกเขาพบความหมาย การปลอบโยน และความไว้วางใจ” “พ่อภาวนาให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกหนทุกแห่ง เปี่ยมด้วยความเมตตา ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสม ความใกล้ชิดแบบภราดรภาพ”
++++++++++
ฟ. วีระ อาภรณ์รัตน์ แปล